สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการติดตั้งฟิล์มอาคาร
แต่ก่อนที่เราจะไปติดฟิล์มกรองแสง
สิ่งที่เราทุกคนต้องรู้ก่อนที่จะติดฟิล์มบ้าน ฟิล์มอาคาร มีอะไรกันบ้างละ
ติดฟิล์มบ้านทั้งที มีฟิล์มติดอาคารหลากหลายยี่ห้อ แถมราคาก็มีให้เลือกมากมาย
ไม่ว่าเป็นฟิล์มติดอาคารราคาถูก ไปจนถึงฟิล์มเกรดพรีเมียม ถ้าไม่รู้จะต้องเริ่มแบบไหน วันนี้ JN Cool Film จะมาให้คำแนะนำสิ่งที่ต้องรู้ก่อนจะติดฟิล์มกันครับ
ประเภทของฟิล์มติดอาคาร
เราต้องรู้คุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสียของฟิล์มแต่ละประเภท เช่นค่าลดความร้อนรวม ค่าการป้องกันรังสีต่างๆ โดยฟิล์มติดอาคารนั้น จะแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ
-
ฟิล์มปรอท เป็นฟิล์มกรองแสงที่ฉาบด้วยสารโลหะต่างๆ ทำให้เนื้อฟิล์มมันวาวคล้ายกระจก มองจากข้างนอกเข้ามาข้างในไม่เห็น ฟิล์มประเภทนี้สามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ซึ่งเมื่อเทียบราคากับฟิล์มดำ หรือ ฟิล์มใส ที่ค่าสะท้อนแสงเท่ากัน จะมีราคาถูกกว่ามาก แต่แสงสะท้อนของฟิล์มปรอทมักจะสะท้อนเข้าตา ซึ่งรบกวนผู้อื่นค่อนข้างมาก ดังนั้นทำให้คอนโดหรืออาคารบางแห่ง มีข้อกำหนดห้ามติดฟิล์มอาคารแบบฉาบปรอท
-
ฟิล์มดำ เป็นฟิล์มกรองแสงอาคาร ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีระดับความเข้มของฟิล์มให้เลือกใช้ ซึ่งในตลาดมีฟิล์มดำหลายเกรดมาก แต่ฟิล์มดำที่ดีและมีคุณภาพ เรียกว่า “ฟิล์มกรองแสงติดอาคาร นาโนเซรามิค” เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่ได้การยอมรับจากประเทศ USA จุดเด่นของฟิล์มกรองแสงเซรามิคจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพในเรื่องของ “ดำเข้มจากภายนอก สว่างชัดจากภายใน”
-
ฟิล์มใส เป็นฟิล์มอาคารที่กันรังสีความร้อนได้ดี และก็ยังมีความใส สามารถมองจากด้านนอกเข้ามาได้ชัดเจน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการชมวิวหรือต้องการโชว์ของหน้าร้าน อย่างร้านอาหารหรือโชว์รูม ฟิล์มตัวนี้ราคาจะค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับฟิล์มประเภทอื่นๆ
-
ฟิล์มนิรภัย เป็นฟิล์มเนื้อหนามากกว่าฟิล์มประเภทอื่นกันความร้อนได้บางส่วนแต่ป้องกันกระจกแตกจากอุบัติเหตุและการทุบกระจกได้ดี เหมาะสำหรับอาคารสูงที่มีกระจกขนาดใหญ่
ฟิล์มกรองแสง 40%, 60%, 80% คืออะไร
ที่เรียกฟิล์ม 40%, 60%, 80% มันคือการเรียกความเข้มของฟิล์ม ลูกค้าส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า ฟิล์มที่มีสีเข้ม สามารถลดความร้อนได้ดีกว่าฟิล์มที่สีอ่อนกว่า แต่ความจริงแล้ว สีหรือความทึบของ ฟิล์มกรองแสง ไม่ได้เป็นตัวช่วยลดความร้อน โดยหลักการลดความร้อนของฟิล์มนั้น ขึ้นอยู่กับสารตัวอื่นที่นำมาเคลือบบนฟิล์ม
'ความเข้มของฟิล์ม ช่วยลดแสงส่องผ่านที่เข้ามาเท่านั้น'
-
ฟิล์มเข้ม 80%
-
ฟิล์มเข้ม 60%
-
ฟิล์มเข้ม 40%
-
ฟิล์มใส
ดังนั้นหากคุณจะเลือกฟิล์มเข้ม 40 60 80
คุณต้องดูว่าห้องนั้น คุณใช้งานเพื่ออะไร ?
-ห้องที่ไม่ต้องการให้คนนอกมองเข้ามาเห็น และต้องการความเป็นส่วนตัว แนะนำ ฟิล์มเข้ม80%
-ห้องที่ต้องการให้ดูโปร่งสบาย ไม่อึดอัด แนะนำฟิล์มเข้ม 40 %
-ห้องที่ยังต้องการความเป็นส่วนตัว แต่ยังต้องการความสว่าง และโปร่ง เช่นห้องทำงาน แนะนำ ฟิล์มเข้มไม่เกิน 60%
แสงจะส่องผ่านได้ประมาณ 5%
แสงจะส่องผ่านได้ประมาณ 20%
แสงจะส่องผ่านได้ประมาณ 40%
แสงจะส่องผ่านได้ประมาณ 70%
ติดฟิล์มเพื่อช่วยลดความร้อนของห้อง แนะนำให้ดูค่า VLR, IR, TSER
-
ค่าการสะท้อนของแสง (Visible Light Transmittance : VLR) สูง = มีปริมาณปรอทมาก = แสงสะท้อนได้มาก = สามารถลดความร้อนดี
-
การป้องกันความร้อน (Infrared Light Rejection) คือ ค่าการป้องกันรังสีอินฟาเรด (รังสีความร้อน) ค่า IR สูง = สามารถลดความร้อนดี
-
การลดความร้อนรวม (Total Solar Energy Rejection หรือ TSER) คือ ค่าป้องกันความร้อนรวมของแสงสว่าง รังสีUV รังสีอินฟาเรด ยิ่งมีค่าลดความร้อนรวมมาก ยิ่งป้องกันความร้อนได้ดี
***ค่าการป้องกันรังสียูวี โดยทั่วไปฟิล์มทุกชนิดจะสามารถป้องกันรังสีได้ 99%
สำคัญ !!! ต้องรู้ว่าต้องการติดฟิล์มเพื่อวัตถุประสงค์ใด
ตำแหน่งห้อง การใช้งานของห้องนั้น
เพื่อจะได้เลือกฟิล์มได้อย่างเหมาะสมต่อการใช้งาน